บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การไทเทรต กรด - เบส (Acid-Base Titration) ต่อ



การไทเทรต กรดแก่กับเบสแก่


         จุดสมมูลของสารละลาย สารละลายบัฟเฟอร์ (buffer solution) หมายถึงสารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน หรือคู่เบสของกรดอ่อน หรือหมายถึงสารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อนหรือคู่กรดของเบสอ่อนนั้น สมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์ คือ รักษาสภาพ PH ของสารละลายเอาไว้โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่จำนวนเล็กน้อยลงไปการเตรียม ทำได้โดยการเติมกรดอ่อนลงในสารละลายเกลือของกรดอ่อน หรือการเติมเบสอ่อนลงในสารละลายเกลือของเบสอ่อน 
การควบคุมค่า pH ของ Buffer


   บัฟเฟอร์Aมีสาร CH3COOH กับ CH3COO- อยู่ในระบบ 
      ถ้าใส่กรดลงไป HCl จะแตกให้ H+ แต่จะถูกสะเทินด้วยคู่เบส 
         CH3COO- + H+ CH3COOH 
      ถ้าใส่เบสลงไป NaOH จะแตกตัวให้ OH- แต่จะถูกสะเทินด้วยคู่กรด 
          CH3COOH + OH- CH3COO- + H2O 

   ****กรดแก่&เบสแก่เป็น Buffer ไม่ได้เพราะแตกตัว 100 % จึงไม่เกิดคู่กรดคู่เบส****



หลักการการดูสารว่าเป็น Buffer หรือไม่
  

      1.ถ้าไม่ทำปฏิกิริยากัน(คู่เหมือน)ตัดแก่ออกจะต้องมี H+ ต่าง 1 ตัว 
      2.ถ้าทำปฏิกิริยากันอ่อนต้องเหลือ

   การดูค่า pH ของ สารละลายBuffer 
      1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH < 7 
       2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7 
         [pHของ Buffer ใช้สูตร pH = -logKa + log [เกลือ]/[กรด]
         pOHของ Buffer ใช้สูตร pOH = -logKb + log [เกลือ]/[เบส] 

   **** สารละลายบัฟเฟอร์จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อ [HA] = [A-]ซึ่งจะทำให้ [H+]จะเท่ากับ Ka ด้วยเหตุนี้จึงเลือกใช้บัฟเฟอร์ที่มีค่า pKaใกล้เคียงกับ pH ที่ต้องการเตรียม****












 

ไม่มีความคิดเห็น: