บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สารสกัดจากถั่วขาว (White Kidney Bean Extract)



สารสกัดจากถั่วขาว (White Kidney Bean Extract) หรือสารฟาเซโอลามีน (Phaseolamin) 
มีคุณสมบัติ
     ช่วยยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์แอลฟ่า-อะไมเลส ในลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นเอ็นไซม์หลักในการย่อย
แป้ง ส่งผลให้อาหารประเภทแป้งไม่ถูกย่อย และดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย (ยับยั้งไม่ให้ แป้ง/อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ถูกย่อยเป็นน้ำตาล แล้วกลายเป็นไขมันสะสม) จึงไม่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานหรือเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมได้ แต่จะอยู่ในรูปของใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ และถูกขับออกจากร่างกายในรูปของกากอาหารไปในที่สุด
 
    ดังนั้น ร่างกายจะได้รับพลังงานจากแป้งลดลงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทำให้การสะสมของไขมันในร่างกายที่เกิดจากแป้ง และน้ำตาลลดน้อยลงด้วย เมื่อร่างกายได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวันร่างกายก็จะเผาผลาญไขมันเก่าที่สะสมออกมาใช้มากยิ่งขึ้น จึงทำให้น้ำหนักลดลงโดยไม่ต้องใช้วิธีอดอาหาร หรือ กินยาลดความอ้วน



การไทเทรต กรด - เบส (Acid-Base Titration) ต่อ



การไทเทรต กรดแก่กับเบสแก่


         จุดสมมูลของสารละลาย สารละลายบัฟเฟอร์ (buffer solution) หมายถึงสารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน หรือคู่เบสของกรดอ่อน หรือหมายถึงสารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อนหรือคู่กรดของเบสอ่อนนั้น สมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์ คือ รักษาสภาพ PH ของสารละลายเอาไว้โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่จำนวนเล็กน้อยลงไปการเตรียม ทำได้โดยการเติมกรดอ่อนลงในสารละลายเกลือของกรดอ่อน หรือการเติมเบสอ่อนลงในสารละลายเกลือของเบสอ่อน 
การควบคุมค่า pH ของ Buffer


   บัฟเฟอร์Aมีสาร CH3COOH กับ CH3COO- อยู่ในระบบ 
      ถ้าใส่กรดลงไป HCl จะแตกให้ H+ แต่จะถูกสะเทินด้วยคู่เบส 
         CH3COO- + H+ CH3COOH 
      ถ้าใส่เบสลงไป NaOH จะแตกตัวให้ OH- แต่จะถูกสะเทินด้วยคู่กรด 
          CH3COOH + OH- CH3COO- + H2O 

   ****กรดแก่&เบสแก่เป็น Buffer ไม่ได้เพราะแตกตัว 100 % จึงไม่เกิดคู่กรดคู่เบส****



หลักการการดูสารว่าเป็น Buffer หรือไม่
  

      1.ถ้าไม่ทำปฏิกิริยากัน(คู่เหมือน)ตัดแก่ออกจะต้องมี H+ ต่าง 1 ตัว 
      2.ถ้าทำปฏิกิริยากันอ่อนต้องเหลือ

   การดูค่า pH ของ สารละลายBuffer 
      1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH < 7 
       2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7 
         [pHของ Buffer ใช้สูตร pH = -logKa + log [เกลือ]/[กรด]
         pOHของ Buffer ใช้สูตร pOH = -logKb + log [เกลือ]/[เบส] 

   **** สารละลายบัฟเฟอร์จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อ [HA] = [A-]ซึ่งจะทำให้ [H+]จะเท่ากับ Ka ด้วยเหตุนี้จึงเลือกใช้บัฟเฟอร์ที่มีค่า pKaใกล้เคียงกับ pH ที่ต้องการเตรียม****












 

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

การไทเทรต กรด - เบส (Acid-Base Titration)




การไทเทรต กรด - เบส

(Acid-Base Titration)


         
เป็นกระบวนการวิเคราะห์หาปริมาณของกรดหรือเบส โดยให้สารละลายกรดหรือเบสทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายมาตรฐาน เบสหรือกรดซึ่งทราบความเข้มข้นที่แน่นอน และใช้อินดิเคเตอร์เป็นสารที่บอกจุดยุติ ด้วยการสังเ กตจากสีที่เปลี่ยน ขณะไทเทรต pH จะเปลี่ยนไป ถ้าเลือกใช้อินดิเคเตอร์เหมาะสม จะบอกจุดยุติใกล้เคียงกับจุดสมมูล

   
จุดสมมูล
      
จุดสะเทิน = Equivalence point)
         
คือจุดที่กรดและเบสทำปฏิกิริยาพอดีกัน จุดสมมูลจะมี pH เป็นอย่างไร นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและเบสที่นำมาไทเทรตกัน และขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกรดและเบส
      
จุดยุติ (End point)
         
คือจุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี ขณะไทเทรตกรด-เบสอยู่ จุดยุติจะใกล้เคียงกับจุดสมมูลได้นั้น จะ ต้องเลือกอินดิเคเตอร์เหมาะสม ในทางปฏิบัติถือว่าจุดยุติ เป็นจุดเดียวกับจุดสมมูล

   
การหาความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก
โดยการไทเทรตชัน

      a)
ตวงปริมาตรของสารละลายกรดด้วยปิเปดต์ใส่ขวดชมพู่
      b)
ไทเทรตสารละลายมาตรฐานจากบิวเรตต์ ลงในขวดชมพู่ที่มีสารละลายกรดไฮโดรคลอริกอยู่ด้วย
      c)
การไทเทรตกรด-เบสจนถึงจุดยุติโดยสังเกตจากอินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี
      d)
อ่านปริมาตรของสารละลายเบส (สารละลายมาตรฐาน) ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายกรดนี้ บันทึกข้อมูล

   
การสิ้นเปลืองสารละลายในการไทเทรต

      1.
ความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่าง ไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของสารว่าแก่หรืออ่อน
      2.
ชนิดของสารตัวอย่างว่าเป็น Monoprotic หรือ polyprotic
      3.
ปริมาตรของสารตัวอย่าง การดูดูได้จากสูตรการไทเทรต aN1V1 = bN2V2

 
การหาจุดยุติ
      
ดูจากการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์(ดูจากตารางด้านบน)ไม่นิยมไทเทรตกรดอ่อนกับเบสอ่อนเพราะช่วง pH เปลี่ยนแปลงสั้นมากทำให้อาจคำนวณผิดพลาดได้การคำนวณความเข้มข้นจากการไทเทรต ความรู้เก่า mol = NV/1000, N = [mol x 1000]/VN = mol/dm3 V = cm3 mol = จำนวน mol ของสาร

   
กรณีเป็นการเติมของแข็ง
      a.mol.1000 = bN2V2
      a x g/M x 1000 = bN2V2
การเปลี่ยนหน่วยความเข้มข้น
      mol/dm3 = % x 10 x d/
มวลโมเลกุล (d = ความหนาแน่น) ใช้ในกรณีหน่วยเป็น มวล/มวล หรือ ปริมาตร/ปริมาตร
       mol/dm3 = % x 10/
มวลโมเลกุล ใช้ในหน่วย มวล/ปริมาตร

      ****
ทั้ง สูตรนี้ใช้ในกรณีที่โจทย์ระบุความเข้มข้นในหน่วยดังกล่าวเป็น %

อินดิเคเตอร์


อินดิเคเตอร์
         อินดิเคเตอร์คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด เบสของสารต่าง ๆ และสีของสารนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อค่าความเป็นกรด - เบสเปลี่ยนไป    การทดสอบความเป็นกรด - เบสของสารละลาย      ความเป็นกรด - เบส หรือค่า pH ของสารละลายสามารถทดสอบได้โดยใช้อินดิเคเตอร์              อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบความเป็นกรด - เบส หรือค่า pH ของสารละลายได้แก่ 

      1. กระดาษลิตมัส มีสีแดงกับสีน้ำเงิน มีการเกิดขึ้น ดังนี้ 
         - สารละลายกรด หรือสารละลายที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 จะเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง แต่ไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสสีแดง 
         - สารละลายเบสหรือสารละลายที่มีค่า pH สูงกว่า 7 จะ เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน 
         - สารละลายเป็นกลางหรือสารละลายที่มีค่า pH เท่ากับ 7 จะไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสทั้งสีแดงและสีน้ำเงิน 
      2. สารละลายฟีนอล์ฟทาลีน เป็นอินดิเคเตอร์ที่ไม่มีสี เมื่อหยดสารละลายกรด สีของสารละลายจะคงเดิม เมื่อหยดสารละลายเบส สีของสารละลายฟีนอล์ฟทาลีนจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูม่วง แต่ถ้าเป็นเบสแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง 
      3. สารละลายยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ เป็นการนำอินดิเคเตอร์หลาย ๆชนิดที่มีการเปลี่ยนสีในช่วง pH ต่างกันมาผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม
    จึงสามารถบอกค่าความเป็นกรด - เบส ของสารละลายโดยบอกค่า pH ที่ละเอียด และถูกต้องยิ่งขึ้น 
    อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบความเป็นกรด เบสของดิน 
      1. ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ เป็นตลับ ภายในมีกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ และบนตลับจะมีแผ่นเทียบสีค่า pH ตั้งแต่ 1 ถึง 14 
         ดินเป็นกรด จะเปลี่ยนสีกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์จากสีน้ำตาลเป็นสีแดง 
         ดินเป็นเบส จะเปลี่ยนสีกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ จากสีน้ำตาลเป็นสีเขียวน้ำเงิน 
         ดินเป็นกลาง จะไม่เปลี่ยนสีกระดาษยูนิเวอร์แซลดิเคเตอร์ 
   ตัวอย่างอินดิเคเตอร์ 

   ประโยชน์ของอินดิเคเตอร์ 
      1.ใช้เป็นตัวบอกจุดยุติในการติเตรต 
         o ถ้าติเตรตกรดแก่ เบสแก่ ใช้อินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH = 7 (เลือกใช้ประมาณ 7 เพราะ จะได้เกลือกลาง) 
         o ถ้าติเตรตกรดแก่ เบสอ่อน ใช้อินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH < 7 (จะเกิดเกลือกรด) 
         o ถ้าติเตรตกรดอ่อน เบสแก่ ใช้อินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH > 7 (จะเกิดเกลือเบส) 
   ช่วง pH ของสารละลายที่อินดิเคเตอร์ค่อยๆเปลี่ยนสีจากสีหนึ่งไปเป็นอีกสีหนึ่ง เรียกว่า ช่วง pH ของอินดิเคเตอร์ 
      2. กระดาษลิตมัส ซึ่งมี 2 สี คือ กระดาษลิตมัสสีน้ำเงินและสีแดง เมื่อทดสอบกับดินจะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 
         ดินเป็นกรด จะเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นสีแดง แต่สีแดงไม่เปลี่ยนแปลง 
         ดินเป็นเบส จะเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นสีแดง แต่สีแดงไม่เปลี่ยนแปลง 
         ดินเป็นกลาง จะไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้งสีน้ำเงินและสีแดง



ทฤษฎีกรด - เบส




ทฤษฎีกรด -  เบส
 ทฤษฎีกรด -  เบส     อาร์เรเนียส (Arrhenius)  กล่าวว่า กรด คือสารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ H   หรือ H3O ส่วนเบส   คือสารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ OH
 ทฤษฎีกรด -  เบส  เบรินสเตด-ลาวรี  (Bronsted-Lowry)   กล่าวว่า   กรด คือสารที่ให้โปรตอนแก่สารอื่น   ส่วนเบส   คือ สารที่รับโปรตอนจากสารอื่น
 ทฤษฏีกรด -  เบส  เรวิส  (Lewis)  กล่าวว่า   กรด คือ สารที่รับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวจากสารอื่น    ส่วนเบสคือ สารที่ให้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวแก่สารอื่น
คู่กรด-เบส
ตามทฤษฎีของโยฮันน์ นิโคเลาส์ เบรินสเตดและทอมัส มาร์ติน ลาวรี หรือทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี (Bronsted-Lowry) ที่ระบุไว้ว่าคู่กรด-เบส (อังกฤษConjugate acid-base pair) คือสารประกอบสองตัว โดยตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นกรดในปฏิกิริยาไปข้างหน้า กับสารที่ทำหน้าที่เป็นเบสในปฏิกิริยาย้อนกลับ หรือในทางกลับกัน โดยสารที่เป็นคู่กรด-เบสกันจะมีจำนวนโปรตอนต่างกันอยู่ 1 โปรตอน และสารที่เป็นคู่กรดจะมีโปรตอน (H+) มากกว่าสารที่เป็นคู่เบส
ตัวอย่างคู่กรด-เบส
กรด
เบส
HCl กรดไฮโดรคลอริก
Cl คลอไรด์ไอออน
H2SO4 กรดซัลฟิวริก
HNO3 กรดไนตริก
NO3 ไนเตรตไอออน
H3O+ ไฮโดรเนียมไอออน
H2O น้ำ
SO42− ซัลเฟตไอออน
HC2H3O2 กรดแอซิติก
C2H3O2 แอซิเตตไอออน
H2CO3 กรดคาร์บอนิก
HS ไฮโดรเจนซัลไฟด์ไอออน
NH4+ แอมโมเนียมไอออน
NH3 แอมโมเนีย
HCO3 ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน หรือไบคาร์บอเนตไอออน
CO32− คาร์บอเนตไอออน
PO43− ฟอสเฟตไอออน
H2O น้ำ (เป็นกลาง, มีค่า pH = 7)
OH ไฮดรอกไซด์ไอออน